เมนู

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท
ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้วเป็นผู้
ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิ-
กิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

รูปฌาน 4


[335] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง
จิตอันเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต) ดังนี้บ้าง
ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสพแล้ว) ดังนี้บ้าง ว่า
ตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันขนายคือญาณของตถาคตแทงแล้ว) ดังนี้บ้าง
อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
ดูก่อนพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่อง
ใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ
จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ

ได้ เป็นผู้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียก
ว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตรัญชิตะบ้าง ดังนี้ อริยสาวก
ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
[336] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น
อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบูชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ใน
ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่าง
นั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เรา
เรียกตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยัง
ไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
[337] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี
ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึด
ถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อน
พราหมณ์ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวีตะบ้าง ถ้าคตา-
รัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผ้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ .

อาสวักขยาญาณ


[338] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนีโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
ดูก่อนพราหมณ์ แม่ข้อนี้เรากล่าวว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง
ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น